โสพิศใจใส
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

บทที่ 8

เครื่องอัดสำเนาระบบดิจิทัล

เครื่องอัดสำเนา

Posted in เครื่องอัดสำเนา on June 3, 2007 by kakal

เครื่องอัดสำเนา ความหมายและความสำคัญ เป็นเครื่องใช้สำนักงานที่ใช้การอัดสำเนาข้อความ หนังสือ จดหมาย หรือรายงานต่าง ๆ ที่มีข้อความจำนวนมาก วิธีการผลิดทำได้ง่าย รวดเร็ว และราคาทุนในการผลิดต่ำการอัดสำเนาจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ สำเนาเอกสารมีความสวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อย จำเป็นต้องศึกษาเครื่องอัดสำเนาให้ถูกวิธี รวมทั้งต้องรู้จักบำรุงรักษาเครื่องอัดสำเนาเบื้องต้น จะช่วยให้เครื่องอัดสำเนาสามารถใช้งานได้ฝนระยะเวลายาวนาน วิธีการใช้เครื่องอัดสำเนาจะต้องศึกษาจากคูมือประจำเครื่องและปฏิบัติให้ถูกต้องเพราะเครื่องอัดสำเนาแต่ละแบบแต่ละชนิดย่อมมีวิธีการทำงานที่เป็นแบบเฉพาะของเครื่องนั้น ๆ นอกจากนี้อาจต้องศึกษาจากผู้ที่เคยใช้เครื่องชนิดนั้นมาก่อน เพื่อจะไดทราบปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นขณะใช้เครื่อง เอกสารที่อัดสำเนาจะเรียบร้อยและสวยงาม รวมทั้งต้องรู้จักบำรุงรักษาเครื่องอัดสำเนาเบื้องต้นอีกด้วย เครื่องอัดสำเนาเป็นเรื่องใช้สำนักงานที่ช่วยในการผลิตเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย กาถ่ายสำเนาจากต้นฉบับเป็นสำเนาเอกสารที่ถูกจัดทำขึ้นในขณะทำต้นฉบับแต่ไม่สามารถทำขึ้นจำนวนมากได้ ฉะนั้น เมื่อมีความต้องการเอกสารจำนวนมากเพื่อใช้ในการอ้างอิงจึงอาศัยความสะดวกรวดเร็วในการจัดทำด้วยการนำต้นฉบับหรือนำสำเนาอกสารที่เป็นคู่ฉบับไปถ่ายเอกสารจากเครื่องถ่ายเอกสาร ประโยชน์ของเครื่องอัดสำเนา 1. ผลิตงานได้รวดเร็วและได้งานที่เหมือนกันจำนวนมาก จึงประหยัดเวลา แรงงาน ประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากต้นทุนการเฉลี่ยต่อสำเนาแต่ละใบต่ำ 2. กระดาษที่ใช้อัดสำเนา สามารถจะใช้ได้หลายชนิด 3. อัดสำเนาสอดสีต่าง ๆ ได้หลายสี 4. ใช้ได้ทั้งระบบมือหมุนและใช้ไฟฟ้า วิธีการใช้เครื่องอัดสำเนา 1. เปิดผ้าคลุมเครื่อง เอาถาดป้อนกระดาษและถาดรับกระดาษลง ดึงด้ามมือหมุนให้หัน ออกข้างนอกเครื่องเสียบปลั๊กไฟ 2. ตรวจดูปุ่มป้อนกระดาษให้อยู่ในลักษณะยกขึ้น หมุนมือหมุนตามเข็มนาฬิกาหนึ่งรอบ เพื่อให้แน่ใจว่าส่วนการป้อนกระดาษไขไม่ทำงาน 3. ใส่หลอดหรืทอหมึกอัดสำเนาเปิดฝาครอบหลอดหมึก คันล็อคหัวหมึกขึ้นใส่หลอดหมึก ให้อยู่บนฐานรับกดฐาน จนหลอดหมึกอยู่ในระดับช่องยึดหลอดหมึกแล้วใส่หัวหลอด เข้าในช่องยึดฝาหลอดหมึกให้แน่น 4. เปิดปุ่มปรับหมึกให้อยู่ในระดับที่ดูดหมึกได้เต็มหน้า กดสวิทช์หมึก เพื่อให้หมึกเดินเข้า เครื่องปิดสวิทช์กดลงข้างล่าง 5. ใส่กระดาษไข คว่ำหน้ากระดาษไขพาดบนราว ง้างแผงทับหัวกระดาษไขขึ้น สอดช่อง หัวกระดาษไขเข้ากับปุ่มเกาะหัวกระดาษไข วางแผงกระดาษไขลงทับให้แน่น 6. วางมือขวาทาบลงบนกระดาษไข กดไว้เบา ๆ หมุนมือหมุนช้า ๆ โดยที่มือขวากดทาบ ลูบตลอดแผ่นหลังของกระดาษไข หยุดหมุนมือหมุนขึ้นมาอยู่ระดับสูงสุดของเครื่องเปิด แผ่นขึ้นถ้าแผ่นหน้าซึ่งเป็นกระดาษไขย่น ต้องจับดึงให้ตรึง 7. กดปุ่มรีดหมึก หมุนมือหมุนไปเรื่อย ๆ ปล่อยมือจากปุ่มรีดหมึก เปิดแผ่นหลังขึ้นดูถ้า หมึกติดทุกตัวอักษรแล้วฉีกแผ่นหลังออก 8. ยกแผงกันกระดาษด้านหน้า และด้านหลังของถาดรับกระดาษขึ้น จัดให้ได้ตำแหน่งที่ พอดีรับกระดาษอัดสำเนา 9. จัดแผงกระดาษกั้นข้างและด้านหลังของถาดป้อนกระดาษ ให้พอดีกับกระดาษอัดสำเนาที่ วางลงไปก่อนจะเอากระดาษอัดสำเนาใส่ลงในถาดป้อน 10. ปรับแผงบังคับการป้อนกระดาษ โดยดูจากกระดาษอัดสำเนาที่ใช้ ถ้าเป็นกระดาษอัด สำเนาธรรมดา ให้ยกคันบังคับการป้อนกระดาษไปไว้ที่เครื่องหมายเลขบวก ถ้ากระดาษ อัดสำเนาบางกว่าปกติให้ดันคันบังคับการป้อนกระดาษ 11. ทดลองอัดสำเนาแผ่นแรก โดยเลื่อนถาดป้อนกระดาษขึ้นไปให้ชิด้านบนที่ระดับสูงสุด ของการใส่กระดาษ 12. ตรวจแผ่นสำเนาแผ่นแรก ดูตำแหน่งของสำเนาเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ ถ้าบันทัด แรกยึดหัวกระดาษอัดสำเนามากเกินไป 13. จัดถาดรับกระดาษ โดยจัดแผงนำกระดาษด้านหน้าให้พอดีที่จะรับกระดาษที่ออกจาก เครื่องให้ตกลงที่ถาดรับกระดาษ 14. ตั้งจำนวนที่ต้องการจะตั้งจำนวนหลักหน่วยเพื่อเสร็จขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว เปิดสิวทช์ เดินเครื่องปิดปุ่มปรับความเร็ว เพื่อให้เครื่องทำงานช้าหรือเร็วตามความต้องการ กดปุ่ม ป้อนกระดาษลงเพื่อให้กระดาษป้อนเข้าเครื่องเมื่อเครื่องได้อัดสำเนาตามจำนวนที่ตั้งไว้ เครื่องจะหยุดโดยอัตโนมัติ การบำรุงรักษาเครื่องอัดสำเนา เครื่องอัดสำเนาจะสามารถทำสำเนาได้ดี มีอายุการใช้งานที่มีประสิทธิภาพเป็นระยะเวลานาน จำเป็นต้องได้รับการดูแลด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของฝุ่นละอองและขุยของกระดาษที่จะเกาะติดกับน้ำหมึก ทำให้เกิดคราบหมึกจะทำให้เครื่องเกิดการอุดตัน อันเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เครื่องอัดสำเนาออกมาไม่เรียบร้อยจะมีวิธีการดุแลรักษาเครื่องอัดสำเนา ดังนี้ 1. ปัดฝุ่นละออง ทำความสะอาดเครื่อง และบริเวณรอบ ๆ เครื่อง 2. ใช้เครื่องตามขั้นตอนการใช้เครื่อง 3. หยอดน้ำมันและปรับส่านต่าง ๆ ของเครื่องเป็นประจำ หลังการใช้ถ้ารู้สึกว่าเครื่องเกิดเสียงดัง 4. ตรวจเช็คเครื่องใช้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตลอดเวลา 5. เตรียมเครื่องให้สะอาดเพราะถ้าเครื่องสกปรก งานที่จะผลิตจะสกปรกไปด้วย 6. ใช้ผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดเครื่อง แล้เช็ดให้สะอาด 7. ฝุ่นกระดาษต้องทำความสะอาดออกให้หมด 8. ถอดปลั๊กออกทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน 9. เมื่อหยุดการใช้เครื่องต้องทำความสะอาด 10. เมื่อใช้งานเสร็จต้องใช้ผ้าคลุมเครื่องทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นละออง

 

เครื่องคำนวณเลขอิเล็คทรอนิกส์  เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในงานสำนักงาน มีลักษณะคล้ายกับเครื่องบวกเลข  แต่จะมีแป้นต่าง ๆ มากกว่าเครื่องบวกเลขในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั้งนี้เพราะสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง สะดวก และรวดเร็ว  เครื่องคำนวณเลขอิเลคทรอนิกส์ที่จะเรียนต่อไปนี้มีแป้นต่าง ๆ ที่ควรรู้จักและทำความเข้าใจในการใช้งานอย่างถ่องแท้  เพื่อให้ผลการคำนวณออกมาถูกต้อง รวดเร็ว

การวางนิ้วบนแป้นเหย้า

       การวางนิ้วบนแป้นเหย้าสำหรับเครื่องคำนวณเลขอิเล็คทรอนิกส์เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์ดีด  เพื่อให้การใช้นิ้วต่าง ๆ ได้ถูกต้องรวดเร็ว และแม่นยำในระบบสัมผัส  คือไม่มองแป้น  แป้นเหย้าของเครื่องคำนวณเลขอิเล็กทรอนิกส์คือแป้น 4 5 6   วางนิ้วชี้ขวาบนเลข 4  นิ้วกลางขวาบนเลข 5  และนิ้วนางขวาบนเลข  6  สำหรับการก้าวนิ้วนั้นให้ใช้ได้  ดังนี้
 นิ้วหัวแม่มือขวาสำหรับตัวเลข 0 C CE
 นิ้วชี้ขวาสำหรับตัวเลขแถวซ้ายสุดคือ   00  1  4  7
 นิ้วกลางขวาสำหรับตัวเลขแถวกลางคือ  000  2   5  8
 นิ้วนางขวาสำภหรับตัวเลขแถวขวาคือ  3  6  9  และแป้นจุดทศนิยม
 นิ้วก้อยขวาสำหรับแป้นต่าง ๆ ในด้านขวามือ  เช่น +  -  X  K  %  ฯลฯ



   


 

 


Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 65,318 Today: 4 PageView/Month: 19

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...