โสพิศใจใส
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

บทที่ 10

เครื่องโทรสาร


เรื่องราวของเครื่องโทรสาร (FAX)

 บางคน เรียกเจ้า Fax นี้ว่า Telecopying ซึ่งเป็นเครื่อง Telephonic Transmission (ถ้าเอาไปพูดให้คนอื่นฟังคงจะงงกันแน่ๆ เลยครับ) ที่รวมเอาความสามารถของเครื่องสแกนและเครื่องพิมพ์ไว้ด้วยกัน Fax ที่มีวางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนั้นได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันแบบ Thermal Fax และแบบ Plain Paper Fax (PPF) โดยในแบบ Thermal นั้นจะทำงานโดยใช้ความร้อนจี้ลงบนกระดาษที่เป็นแบบ Thermal Paper (สังเกตได้จากการที่เอามือลองขูดกระดาษดู มันจะลอกเป็นรอยสีดำ) ส่วน Fax แบบ PPF นั้นจะเป็นลักษณะการทำงานที่ใช้การพิมพ์เหมือนเครื่องพิมพ์เข้ามาทำงานแทน กระดาษที่ใช้ก็เป็นแบบกระดาษ A4 ธรรมดาด้วย สำหรับแบบ Thermal Fax นั้นยังสามารถจำแนกเทคโนโลยีของ Fax ออกมาได้ถึง 3 ชนิดด้วยกัน

 

1. แบบ Non-Cutter Fax

ประเภท นี้เป็นแบบไม่มีใบมีดที่ใช้ในการตัดกระดาษเวลาที่ คนส่งเอกสารมามันก็จะติดกันเป็นพรืดๆ ซึ่งจะเสียเวลามาตัดเป็นแผ่นๆ กันอีกทีอีกทั้งเป็นรุ่นที่ไม่มีบัฟเฟอร์ซึ่งจะเอามาเก็บข้อมูลในกรณีที่ กระดาษหมด แต่ข้อดีของ Fax ประเภทนี้จะมีราคาที่ถูกที่สุดในบรรดาแฟกซ์ต่างๆ พักหลังนี้ไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมกันแล้วเพราะอำนวยความสะดวกไม่ดีเท่าไหร่

 

2. แบบ Cutter

แฟกซ์แบบ นี้จะมีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับแบบ Non-Cutter โดยใช้หลักการทำงานแบบ Thermal เช่นเดียวกันแต่ได้เพิ่มเติมความสามารถในส่วนของ Cutting เข้ามาด้วยนั่นคือการเพิ่มใบมีดเข้าไปเพื่อช่วยในการตัดกระดาษเช่นเดียวกัน แต่รุ่นนี้ก็ยังไม่มีบัพเฟอร์อยู่ดี ซึ่งก็เช่นเดียวกับ Non-Cutter ที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลที่ขาดตอนได้

 

3. แบบ Memory

แฟกซ์ ประเภทนี้จะเพิ่มเติมความสามารถในเรื่องของบัฟเฟอร์เข้าไปด้วย (ประมาณ 512 กิโลไบต์) ในกรณีที่กระดาษหมดเจ้าตัว Memory นั้นจะเก็บข้อมูลเอาไว้ที่ตัวมันก่อนจากนั้นหลังจากที่เราเปลี่ยนกระดาษแล้ว เครื่องก็จะสามารถที่จะพิมพ์เอกสารนั้นออกมาได้ปกติ Fax แบบนี้จะรวมเอาความสามารถของแบบ Cutter เข้าไปด้วยพร้อมทั้งก็มีราคาแพงขึ้นด้วย ปัจจุบันสำนักงานส่วนมากก็จะใช้แฟกซ์ประเภทนี้กันมาก

แฟกซ์แบบ Thermal นั้นจะใช้กระดาษแบบ Thermal ในการทำงานที่เราเห็นเป็นม้วนๆ แต่สำหรับแฟกซ์ PPF ที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้เป็นแฟกซ์ที่พัฒนาขึ้นมาจากแบบ Thermal แต่จะต่างๆ กันทั้งเรื่องของกระดาษและเทคโนโลยีในการทำงานเช่นกัน ซึ่ง PPF นั้นยังเป็นชนิดย่อยๆ อีกดังนี้

 

1. แบบ Thermal Transfer

แฟซ์แบบ นี้ยังคงใข้ความร้อนจากหัวพิมพ์เช่นเดียวกับแบบ Thermal Fax แต่จะแตกต่างกันตรงที่กระดาษที่ใช้โดยแบบนี้จะใช้กระดาษ A4 ธรรมดาแต่จะเพิ่มกระดาษคาร์บอนอีกชิ้นหนึ่งวางบนกระดาษธรรมดาแล้วใช้หัว พิมพ์จิ้มลงไปซึ่งจะลงไปทับกระดาษธรรมดาอีกครั้งหนึ่ง (เหมือนกับที่เราเขียนหนังสือซ้อนกันสองแผ่นโดยใช้กระดาษก๊อปปี้วางตรงกลาง) เจ้าตัวกระดาษคาร์บอนก็จะหมุนไปเรื่อยๆ เหมือนกับผ้าหมึกของเครื่องดอตแมทริกซ์ อายุการใช้งานของกระดาษคาร์บอนจะอยู่ได้นานด้วย

 

2. แบบ Inkjet

เครื่อง แฟกซ์แบบ Inkjet นี้เป็นหนึ่งในเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีในการทำงานแบบ PPF ซึ่งใช้กระดาษธรรมดาเช่นกัน ลักษณะที่สำคัญของแฟกซ์ Inkjet จะพิเศษตรงที่มี Ink Cartridge พร้อมติดตั้ง Print Head เอาไว้ใช้ในการพิมพ์เอกสารลงบนกระดาษอีกทีหนึ่งซึ่งลักษณะการทำงานจะคล้าย กับเครื่องพิมพ์แบบ Inkjet โดยทั่วไป และมีบางบริษัทที่ได้ใส่ความสามารถบางชนิดเข้าไปทำให้แฟกซ์ทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมขึ้นมาสำหรับแฟกซ์แบบ Inkjet นั้นก็คือเจ้าตัว Ink Cartridge นั่นเอง มีแฟกซ์ Inkjet บางรุ่นที่สามารถจะพิมพ์เอกสารออกมาให้เป็นสีได้ด้วยถือว่าเป็นมิติใหม่ แห่งวงการแฟกซ์เลยก็ได้

 

3. แบบ Laser

เมื่อ แฟกซ์แบบ Inkjet มีลักษณะการทำงานแบบเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต แฟกซ์ที่เป็นแบบ Laser ก็จะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครื่องพิมพ์ LaserJet (ผมได้เคยอธิบายถึงวิธีการทำงานของเครื่อง LaserJet ไปแล้ว) ด้วยเช่นกันกล่าวคือในตัวแฟกซ์นั้นจะมีอุปกรณ์ 2-3 ชิ้นเพิ่มขึ้นจากเดิมก็คือ

1. Drum Unit ทำหน้าที่เหมือน Drum Scan ในเครื่องพิมพ์เลเซอร์

2. Toner จะเป็นผงหมึกที่ใช้ในการพิมพ์

3. Laser Generator เป็นแสงเลเซอร์ที่ใช้ในการฉาบหมึกลงไป

เครื่อง แฟกซ์ประเภทนี้ก็จะมีราคาแพงกว่าเครื่องแฟกซ์อื่นๆ ปัจจุบันทั้งแฟกซ์ Laser และ แฟกซ์ Inkjet กำลังเริ่มที่จะเข้ามาใช้ในสำนักงานต่างๆ มากยิ่งขึ้น

 

4. แบบ Multi-Function (MFC)

แฟกซ์ ประเภทนี้จะรวมเอาความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสแกนเนอร์, พริ้นเตอร์ ฯลฯ ไว้ในตัวเครื่องเดียวกันแต่จะตั้งอยู่บนโครงสร้างของแฟกซ์นั้นหมายถึงว่าจะ ให้ความสำคัญของแฟกซ์เป็นหลักส่วนพวกเครื่องเสริมต่างๆ ก็จะเป็นแค่องค์ประกองของเครื่องซึ่งแฟกซ์ประเภท MFC จะมีราคาที่สูงซึ่งสำนักงานหลายแห่งยังไม่นิยมใช้

 

คุณสมบัติ บางประการของ แฟกซ์

1. ความเร็วในการส่งข้อมูล ในเครื่องแฟกซ์แต่ละแบบก็จะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลใกล้เคียงกันนั่นก็ คือประมาณ 14.4 kbps (ถ้าเป็น FAX/Modem ก็จะมีขนาด 56 kbps) บางรุ่นสามารถเพิ่มออปชันให้ได้ความเร็วเพิ่มขึ้นถึง 33.6 kpbs เลยทีเดียว ซึ่งจะช่วยให้การรับ-ส่งเอกสารเป็นไปได้เร็วขึ้น แต่ก็ต้แงหมายความว่าทั้งด้านรับและด้านส่งต้องสามารถใช้ความเร็วเดียวกัน ได้นะครับ

2. เทคโนโลยีแบบ Full Duplex ในอดีตเวลาเราจะจัดส่งแฟกซ์ในแต่ละครั้ง ถ้าหากเครื่องแฟกซ์นั้นกำลังรับเอกสารอยู่ก่อนหน้านี้เราก็จำเป็นต้องรอให้ สิ้นสุดการรับเสียก่อนจึงจะสามารถส่งเอกสารได้ ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดของเครื่องแฟกซ์รุ่นเก่า แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถทำให้เครื่องแฟกซ์นั้นได้เสริมเทคโนโลยี Full Duplex เข้าไปสามารถทำให้แฟกซ์นั้นสามารถรับและส่งเอกสารในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ประหยัดเวลาไปได้

3. เทคโนโลยี Edge Emphasis System และ The Error Diffusion Method เทคโนโลยีทั้งสองเป็นลิขสิทธิ์ของทางแคนนอน ที่คิดค้นขึ้นมา ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคมชัดให้กับงานเอกสารของท่าน โดย Edge Emphasis นั้นจะทำการตรวจสอบ Pixels บริเวณทั้งสี่ด้านเพื่อคำนวณหาค่าความเข้มของแต่ละจุด เมื่อตรวจพบว่าจุดดำเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ มีค่าความเข้มของจุดที่เปลี่ยนจากสีดำไปเป็นสีขาว หรือสีขาวไปเป็นสีดำ เครื่องจะทำการปรับความเข้มสำหรับการพิมพ์เอกสาร ให้ใกล้เคียงกับค่าที่อ่านได้ ส่วน Error Diffusion นั้น จะทำให้ภาพขาวดำถูกแบ่งความเข้มจางของจุดดำเล็กๆ หลายระดับ ทำให้เกิดภาพที่ใกล้เคียงภาพต้นฉบับที่สุด

 

เครื่อง โทรสาร หรือ FACSIMILE เป็นอุปกรณ์การส่งแผนภาพแผนที่ ลายเส้น จากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง โดยต่อเชื่อมเครื่องโทรสารเข้ากับเครื่องโทรศัพท์ที่ท่านมีอยู่  การส่งทำในลักษณะการถ่ายสำเนา  ทำให้สามารถส่งเอกสารถึงเครื่องรับปลายทางทุกแห่งที่มีการบริการโทรศัพท์ไป ถึงทั่วประเทศ และต่างประเทศ  ข่าวสารจะถึงปลายทางอย่างถูกต้องใกล้เคียงกับต้นฉบับอย่างรวดเร็ว  ทำให้ได้รับความสะดวกและประหยัดอย่างยิ่ง

          ประวัติความเป็นมาของ  FAX  นั้น  ได้มีการพัฒนาสืบต่อกันจากการส่งโทรภาพ (PHOTO TELEGRAPH) ซึ่งได้มีการส่งภาพทางสายทางไกลระหว่างประเทศมาเป็นเวลา ๕๐ ปี ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการสื่อสารระบบดาวเทียมหรือเคเบิลใต้น้ำอย่างใน ปัจจุบันการสื่อสารระหว่างประเทศ เราต้องสื่อสารกันด้วยระบบวิทยุคลื่นสั้น (HIGH FREQUENCY)  เมื่อมีการส่งโทรภาพ เครื่องส่งโทรภาพ

          จะต้องต่อกันด้วยระบบวิทยุโทรคมนาคม บางครั้งเราจึงเรียกว่า วิทยุโทรภาพ (RADIO PHOTO)  ซึ่งก็ไม่เป็นที่นิยมใช้กันมากนักเพราะต้องเสียเวลามากประกอบกับปัญหาของ ระบบวิทยุซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเวลานั้น ๆ  ด้วย ทำให้ภาพที่รับได้ไม่ชัดเจนเพราะการรบกวนของคลื่นวิทยุ และเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก  คงมีเฉพาะการส่งรูปภาพข่าวหนังสือพิมพ์เท่านั้น

          ประมาณ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาการส่งโทรภาพให้ใช้ส่งแต่ภาพเอกสาร เพื่อทำให้เหมาะกับงานธุรกิจส่งเป็นลักษณะเอกสารโดยใช้เวลาในการส่งน้อยลง และประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การใช้งานก็ง่ายขึ้น เรียกว่า 'DOCUMENT FACSIMILE'

          ในประเทศอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องส่งรูปภาพและลายเส้นจึงต้องใช้โทรสาร และได้มีการพัฒนาเครื่องโทรสารเรื่อย ๆ มา จนได้มีองค์การระหว่างประเทศ ชื่อ 'CONSULATIVE COMMITTEE INTERNATIONAL TELEPHONE AND TELEGRAPH' (C.C.I.T.T.)  ได้เข้ามากำหนดมาตรฐานของเครื่องโทรสารขึ้นมาเป็นกลุ่ม (GROUP) ต่าง ๆ เช่น พวก  I.C. (INTERGRATED CIRCUIT)  SENIOR OPTICAL เป็นต้น ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีทางเคมี  ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการบันทึกสำเนาภาพภาครับของเครื่องโทรสารอันเป็นจุด เริ่มต้นที่ทำให้ค่าใช้จ่ายของการใช้เครื่องโทรสารนั้นถูกลง โดยมีการนำเอาระบบ ความร้อนสัมผัส (THERMAL SENSITIVE PAPER) มาใช้บันทึกสำเนาภาพโทรสาร

          ตั้งแต่นั้นมาเครื่องโทรสารส่วนมากจะมีการบันทึกสำเนาภาพบนกระดาษด้วยระบบ THERMAL SENSITIVE PAPER แทบทั้งนั้น เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อย เครื่องมีขนาดเล็กลงมาก ไม่ยุ่งยากซับซ้อนทางกลไก และเสียค่าบำรุงรักษาต่ำ

          ประเทศไทยได้เคยมีการนำเอาโทรสารมาทดลองใช้งานกันตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ หลังจากได้มีการกำหนดมาตรฐานของโทรสารโดยC.C.I.T.T  โดยได้กำหนดมาตรฐานของเครื่องโทรสาร GROUP 1 เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขได้นำมาทดลองรับ-ส่ง

          หน่วยงานสื่อสารของกระทรวงมหาดไทยก็เคยนำเอาโทรสาร GROUP 1 มาทดลองใช้เหมือนกัน และธุรกิจเอกชนก็เคยนำเอามาทดลองใช้เกี่ยวกับการส่งเอกสารทางธุรกิจด้วย ทว่าเครื่องโทรสาร GROUP 1 นั้น ใช้เวลาในการส่งเอกสารขนาด A4 ถึง ๖ นาที และในการบันทึกภาพทางด้านรับยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรเพราะเป็นการ บันทึกแบบ ELECTRO SENSITIVE PAPER ซึ่งมีความเร็วในการบันทึกช้า และเกิดกลิ่นเหม็นด้วย ทำให้ไม่เป็นที่สนใจที่จะใช้ จึงได้เลิกราไป

          จนผ่านมาถึงยุคของเครื่องโทรสาร GROUP 2 ได้มีกำหนดเป็นมาตรฐาน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙  แต่การสื่อสารแห่งประเทศไทยเริ่มนำเครื่องโทรสาร GROUP 2 มาทดลองใช้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยนำมาใช้ในกิจการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ใช้ส่งโทรสารไปยังต่างประเทศและในหน่วยงานของทางราชการต่าง ๆ ด้วย สำหรับงานธุรกิจเอกชนและงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไปยังไม่มีใครนิยมใช้กันเพราะ เครื่องโทรสาร GROUP 2 ยังใช้เวลาส่งเอกสาร A4 นานถึง ๓  นาที คุณภาพของสำเนาที่รับได้ยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าที่ควร  และค่าใช้จ่ายในการใช้งานยังแพงอยู่ ทั้งราคาของเครื่องรับ-ส่งโทรสารยังมีราคาแพงมากด้วย

          ในขณะที่ C.C.I.T.T.  ได้กำหนดมาตรฐานของเครื่องโทรสาร  GROUP 2  ได้ไม่นาน  ประเทศญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาเครื่องโทรสารความเร็วสูง เรียกว่าระบบ QUICK FAX เป็นระบบ  DIGITAL  FACSIMILE ซึ่ง C.C.I.T.T  ยังไม่ได้กำหนดมาตรฐาน เวลาที่ใช้ในการส่งเอกสาร  ขนาด A4 ประมาณ ๑ นาที

          ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์  ครั้งที่  ๘  ระหว่างวันที่ ๙-๒๐ ธันวาคม นั้น บริษัท  K.D.D. ของประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นบริษัทบริการโทรคมนาคมได้นำเอาเครื่องโทรสารความเร็วสูง (QUICK FAX) มาเปิดบริการชั่วคราว  เพื่อส่งเอกสารข่าวสารการแข่งขันกีฬาไปประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งเครื่องQUICK FAX ของบริษัท K.D.D. มีคุณภาพของการทำสำเนาภาพชัดเจนมากกว่าเครื่องโทรสาร GROUP 2 และความชัดเจนมีเท่า ๆ กับเครื่องโทรสารที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

          ตั้งแต่นั้นมาโทรสารก็เป็นที่สนใจของคนไทยมาก  การสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงคิดที่จะเปิดเป็นบริการถาวรต่อไป จนกระทั่งวันที่  ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๒ การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้จัดสัมมนาบริการโทรสารขึ้นที่โรงแรมนารายณ์  โดยได้เชิญข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ  บริษัทห้างร้าน  และสื่อมวลชนมาร่วมสัมมนาพร้อมทั้งได้ทำการสาธิตติดต่อรับ-ส่งโทรสารกับ บริษัท R.C.A. แห่งสหรัฐฯ เพื่อเป็นการแนะนำบริการ

          และคำว่า 'โทรสาร'  ก็ได้รับการบัญญัติขึ้นตั้งแต่นั้นมา  การบริการโทรสารสาธารณะได้เปิดบริการเป็นทางการตั้งแต่วันที่ ๑๕   ธันวาคม ๒๕๒๒ เป็นต้นมา โดยเปิดบริการโทรสารระหว่างไทย-อเมริกาก่อนเป็นสายแรก  แต่ต่อมาก็ได้เปิดบริการกับประเทศต่าง ๆ  เกือบทั่วโลก

 

หลัก การทำงานเบื้องต้นของเครื่องโทรสาร

เครื่อง โทรสาร (Facsimile Machine)

เครื่อง โทรสารนิยมเรียกสั้นๆ ว่า “แฟกซ์ “ (FAX) โดยเครื่องทำสำเนาเอกสารต้นฉบับเดิมจากต้นทาง ส่งผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังปลายทาง ซึ่งเอกสารที่ได้รับปลายทางจะมีรูปแบบเหมือนกับเอกสารต้นฉบับเดิมจากต้นทาง

จุดภาพ (Picture Element: Pel)

การ ส่องดูภาพด้วยเลนซ์ขยายที่ มีอัตราของการขยายสูง ภาพจะประกอบไปด้วยจุดเล็กๆจำนวนมากรวมกัน จุดเล็กๆ เหล่านี้เรียกว่า “จุดภาพ” (Picture Element) ใช้ตัวย่อ เป็น Pel แต่โดยทั่วไปนิยมใช้คำย่อเป็น พิกเซล (Pixel) ตามข้อแนะนำโดยคณะกรรมการที่ปรึกษาการโทรเลขและโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU CCITT Recommendation) โดยรายละเอียดฃองภาพจะสูงขึ้นตามจำนวนจุดภาพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะแสดงถึงคุณภาพที่ดีของภาพนั้น

โครงข่ายข้อมูลสาธารณะแบบสลับ วงจร (Circuit – Switched Public data Network: CSPDN)

โครง ข่ายที่องค์กรหรือบริษัท ใดๆได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่บุคคล องค์กรหรือบริษัทอื่นที่ไม่ได้มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ทำงานโดยการค้นหาวงจรที่ว่างเพื่อใช้เป็นเส้นทางผ่านของสัญญาณ (Physical Path) ของการส่งข้อมูลจากต้นทางถึงปลายทาง

โครงข่ายข้อมูลสาธารณะแบบสลับ กลุ่มข้อมูล (Packet – Switched Public Data Network: PSPDN)

โครง ข่ายข้อมูลสาธารณะ ที่มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็กๆ ที่เรียกว่ากลุ่มข้อมูล หรือ แพคเกท (Packet) ก่อนที่จะมีการส่งจากต้นทางไปยังปลายทาง ต้นทางจะมีขบวนการจัดส่งข้อมูลแต่ละแพคเกทย่อยๆ ไปสู่ปลายทาง เมื่อปลายทางได้รับแพคเกทแล้ว จะมีขบวนการรวมแต่ละแพคเกทย่อยๆเหล่านั้น ให้เป็นข้อมูลดังเดิม

โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบ ดิ จิทัล หรือไอเอสดีเอ็น (Integrated Services Digital Network: ISDN)

โครงข่ายบริการสื่อสารแบบดิจิทัลสำหรับ ให้บริการในการรับและส่งสัญญาณเสียง ภาพ และข้อมูล ด้วยสัญญาณดิจิทัลความเร็วตั้งแต่ ๖๔ กิโลบิตต่อวินาที (kbps) ถึง ๒ เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps) สามารถติดตั้งอุปกรณ์ปลายทางที่ใช้บริการพร้อมกันได้มากถึง ๘ เครื่อง

ฮัฟฟ์แมนดัดแปลง (Modified Huffman: MH)

การ ลดปริมาณข้อมูลของเอกสาร ต้นฉบับที่นำมาสแกนด้วยวิธีการเข้ารหัสแบบหนึ่ง โดยอาศัยลักษณะของเอกสารต้นฉบับที่จะทำสำเนา มักจะประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นพื้นที่ว่างสีขาวต่อเนื่องกัน ทำให้สามารถลดปริมาณข้อมูลที่ซ้ำกันนี้ได้โดยการเข้ารหัสที่เรียกว่าฮัฟฟ์ แมนดัดแปลงส่งผลให้ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ลง

การอ่านแบบดัดแปลง (Modified Reading: MR)

วิธี การลดปริมาณข้อมูลของ เอกสารต้นฉบับที่นำมาสแกนด้วยวิธีการเข้ารหัสเส้นสแกนแรกของเอกสารต้นฉบับ ด้วยวิธีฮัฟฟ์แมนดัดแปลง (Modified Huffman: MH) จากนั้นเส้นสแกนถัดไปที่ได้จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับเส้นสแกนแรก เพื่อเข้ารหัสเฉพาะส่วนที่แตกต่าง ช่วยให้ลดปริมาณข้อมูลและเวลาที่ต้องใช้ในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์

. บทคัดย่อ    up

         เครื่องโทรสารมีลักษณะการทำงานเหมือนเครื่องถ่าย เอกสารทำงานระยะไกล คือสามารถสำเนาเอกสารจากต้นทาง แล้วส่งผ่านคู่สายโทรศัพท์หรือช่องทางสื่อสารอื่นๆไปยังปลายทาง โดยเอกสารที่ได้รับปลายทางจะมีรูปแบบเหมือนกับเอกสารต้นทาง เครื่องโทรสารเป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมายาวนานและ ยังคงมีการใช้งานมากในยุคมัลติมีเดียที่มีสื่อหรืออุปกรณ์ดิจิทัล รูปแบบอื่นๆที่สามารถใช้ทดแทนได้

Abstract    up

           Facsimile or fax machines is regarded as telecopy machine and function basically as a combination of a copy machine which scans the original textual and graphic material as images as well as printing documents from the receiving information and a modem which converts the data into signals and transmits it via a telecommunication link, usually telephone lines, to the destination which is a receiving fax machine. The reproduced document is a copy version of the original document at the receiver side. Through a long history facsimiles are still in use today despite of other replaceable equipment in the information age.

๓. บทนำ (Introduction)     up

         เครื่องโทรสาร (Facsimile) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับทำสำเนาเอกสารต้นฉบับแล้วส่งผ่านคู่สายโทรศัพท์ไป ยังปลายทาง มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั่วไป เช่น สำนักงาน วงการธุรกิจ เป็นต้น เนื่องด้วยความรวดเร็วในการส่งเอกสารจากผู้ส่งถึงผู้รับใช้เวลาสั้น แม้ระยะทางจะห่างไกลกันมาก การติดตั้งและใช้งานทำได้สะดวกเพียงแต่มีเลขหมายโทรศัพท์อยู่แล้วก็สามารถ เชื่อมต่อใช้งานได้


๔. หลักการทำงานเบื้อง ต้นของเครื่องโทรสาร     up

          เครื่อง โทรสารหรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า “ แฟกซ์ ” ( FAX) ได้พัฒนาหลักการทำงานมาจากเครื่องถ่ายเอกสาร หรือการถ่ายเอกสารจากที่หนึ่งส่งผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังอีกที่หนึ่ง โดยเอกสารปลายทางที่ได้รับจะเหมือนเอกสารต้นทาง หลักการทำงานเบื้องต้น คือเครื่องโทรสารที่ต้นทางจะทำการเปลี่ยนข้อมูลของเอกสารหรือภาพนิ่งต้นฉบับ (Original Document or Still Picture) ให้เป็นสัญญาณทางแสง จากนั้นสัญญาณทางแสงจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Electric Signal) โดยมีการเข้ารหัสข้อมูล แล้วส่งผ่านระบบสื่อสารไปยังปลายทาง เครื่องโทรสารปลายทางเมื่อได้รับสัญญาณจะทำการเปลี่ยนจากสัญญาณทางไฟฟ้าให้ เป็นสัญญาณทางแสงเพื่อใช้สร้างเอกสารหรือภาพนิ่งบนกระดาษ (Hard Copy) ที่เหมือนกับต้นฉบับ

 

รูป ที่ ๔.๑ หลักการทำงานของเครื่องโทร สาร

     สามารถ แบ่งการทำงานได้ดังรูปที่๔.๑ การทำงานประกอบด้วยสามส่วน คือ การทำงานด้านส่งที่ทำหน้าที่แปลงเอกสารเป็นข้อมูลเพื่อจัดส่ง (Sending Operation) การส่งผ่านข้อมูลผ่านระบบสื่อสาร (Transmission) และการทำงานด้านรับที่ทำหน้ารับสัญญาณแล้วแปลงเป็นข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสาร (Receiving Operation) การส่งผ่านข้อมูลจะส่งผ่านตามคู่สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ หรือคลื่นไมโครเวฟขึ้นอยู่กับสถานที่และระบบการสื่อสารที่ใช้  ส่วนที่ทำ หน้าที่แปลงเอกสารเพื่อจัดส่ง ลักษณะการทำงานประกอบด้วยสามส่วน คือ การสแกน (Scanning) การเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Opto -Electric Conversion) และ เทคนิคการส่งผ่านระบบสื่อสาร (Transmission Technique)

๔.๑) การสแกน (Scanning)

       ตัว อักษรหรือรูปภาพประกอบด้วยจุดเล็กๆ จำนวนมากรวมกัน จุดเล็กๆ เหล่านี้เรียกว่า “ จุดภาพ ” ที่ด้านส่งของเครื่องโทรสารจะมีขบวนการจัดแจงเอกสาร หรือรูปภาพต้นฉบับให้เป็นจุดภาพ เพื่อแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Electric Signals) ในขณะที่ด้านรับของเครื่องโทรสารมีการทำงานที่ย้อนกลับกับด้านส่ง ขบวนการหรือวิธีการแปลงรูปภาพต้นฉบับให้เป็นจุดภาพที่ด้านส่ง หรือแปลงจุดภาพ กลับเป็นเอกสารหรือรูปภาพที่ด้านรับของเครื่องโทรสาร เรียกว่า “ การสแกน ” ทิศทางของการสแกนจะเหมือนกัน ทั้งด้านรับและด้านส่ง คือ การสแกนจากซ้ายไปขวาตามแนวนอน (Horizontal Scanning) และการสแกนจากบนลงล่างตามแนวตั้ง (Vertical Scanning) การสแกนตามแนวนอนเรียกว่า การสแกนหลัก (Main Scanning) และสแกนตามแนวตั้ง เรียกว่า การสแกนย่อย (Sub-Scanning)   จุดภาพที่เกิดขึ้นจากการสแกนมีอยู่สองประเภท คือ จุดภาพที่เป็นสีขาว (White Picture Element) และจุดภาพที่เป็นสีดำ (Black Picture Element) การสแกนเป็นแบบต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยการสแกนแต่ละครั้งตามแนวตั้งจะได้เป็นเส้น ที่เกิดจากการสแกน เรียกว่า “ เส้นสแกน ( Scanning Line)” โดยที่ความหนาแน่นของเส้นสแกน (Scanning Line Density) คือจำนวนเส้นต่อมิลลิเมตร (Line/mm) สำหรับความหนาแน่นตามแนวนอนเกิดจาก จุดภาพ ( Picture Element) จำนวนมากมายที่รวมตัวกันอยู่ ดังนั้นความหนาแน่นตามแนวนอน คือ จำนวนของจุดภาพต่อมิลลิเมตร (Pel/mm)

๔.๒) การเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Opto - Electrical Conversion)

       ใน ขณะเริ่มต้นของการสแกน เครื่องโทรสารจะยิงแสงตกกระทบที่เอกสารต้นฉบับ และอาศัยหลักการสะท้อนของแสง เมื่อแสงตกกระทบกับพื้นที่ที่มีสีแตกต่างกัน เช่น สีขาวกับสีดำ โดยสีขาวจะสะท้อนแสงได้ดีกว่าสีดำ ดังนั้นความเข้มของแสงสะท้อนที่ได้จากเอกสาร จะมีความแตกต่างกัน จากนั้นแสงสะท้อนจะถูกส่งผ่านเลนซ์นูนในการรวมแสง แล้วส่งให้วงจรทำหน้าที่แปลงระดับความเข้มของแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Opto-Electrical Conversion Element) สัญญาณทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “ สัญญาณภาพ ” (Picture Signal)

๔.๓) เทคนิคการส่งสัญญาณ (Transmission Technique)

       เครื่อง โทรสารด้านส่งจะต้องมีการเข้ารหัสสัญญาณภาพ ( Picture Signal) และทำการผสมสัญญาณ ( Modulate ) ก่อนที่จะถูกส่งไปยังเครื่องโทรสาร ด้านรับตามลำดับ การพัฒนาของเครื่องโทรสารสามารถแบ่งได้เป็นสี่กลุ่ม [1] ดังนี้

ก.) กลุ่มที่หนึ่ง (Group I: G1)

       การ กำหนดระบบที่ใช้กับเครื่องโทรสารสมัยเริ่มแรก เรียกว่า “ กลุ่มที่หนึ่ง ” (Group I: G1) โดยการนำสัญญาณภาพ ที่ได้การเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วทำการผสมสัญญาณแบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation: AM) หรือแบบเอฟเอ็ม (Frequency Modulation: FM) เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณผ่านระบบสื่อสาร สำหรับด้านรับเมื่อได้รับสัญญาณแล้วจะทำการ แยกสัญญาณ เพื่อให้ได้สัญญาณภาพกลับคืนมา แล้วเข้าสู่ขบวนการจัดทำให้เป็นเอกสารใหม่ (Hard Copy) เพื่อให้ได้รูปแบบเหมือนกับเอกสารต้นฉบับต่อไป  มาตรฐานของกลุ่มที่หนึ่ง กำหนดให้ใช้เวลาในการรับส่งเอกสารขนาด A4 ( ๒๑๐ mm x ๒๙๗ mm) ใช้เวลาประมาณ ๖ นาที โดยมีความละเอียดของความหนาแน่นของเส้นสแกน ๓.๘๕ เส้นต่อมิลลิเมตร ใช้การผสมสัญญาณแบบแบบเอเอ็ม หรือเอฟเอ็ม

ข.) กลุ่มที่สอง (Group II: G2)

       มาตรฐาน ของเครื่องโทรสารแบบกลุ่มที่สอง ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี คศ. 1976 ( พ.ศ. ๒๕๑๙ ) เป็นการพัฒนาปรับปรุงการผสมสัญญาณ และการแยกสัญญาณ โดยใช้การผสมสัญญาณแบบเอเอ็ม วีเอสบี (Amplitude Modulation Vestigial Sideband: AM VSB) หรือการผสมสัญญาณแบบพีเอ็ม วีเอสบี (Phase Modulation Vestigial Sideband: PM VSB) ทำให้สามารถลดเวลาที่ต้องใช้ในการรับส่งข้อมูลเอกสารขนาด A4 เหลือเพียงประมาณ ๓ นาที โดยรายละเอียดของเอกสารมีความละเอียดของความหนาแน่นของเส้นสแกนเท่ากับ เครื่องโทรสารแบบกลุ่มที่หนึ่ง

ค.) กลุ่มที่สาม (Group III: G3)

       เครื่อง โทรสารในกลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สอง เทคนิคที่ใช้ในการส่งสัญญาณเป็นแบบ แอนะล็อก (Analog) แต่ในกลุ่มที่สามได้นำรูปแบบการส่งสัญญาณแบบ ดิจิทัล (Digital) รวมทั้งใช้เทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อใช้ในการลดปริมาณข้อมูล (Data Compression Process Coding Mode or Coding Scheme) ทำให้สามารถส่งสัญญาณด้วยอัตราเร็วถึง ๙๖๐๐ บิทต่อวินาที (Bit/sec) ลดเวลาที่ต้องใช้ในการรับส่งเอกสารต้นฉบับขนาด A4 เหลือเพียงประมาณ ๑ นาที  ในการสแกนแต่ละครั้งจะมีจำนวนจุดภาพที่เป็นสีขาว และจุดภาพที่เป็นสีดำที่ต่อเนื่องกันเรียกว่า สีขาวต่อเนื่อง (White run) และสีดำต่อเนื่อง (Black run) การสแกนตามแนวนอนในแต่ละครั้ง ตามเส้นสแกนซึ่งมีความยาว ๒๑๕ มิลลิเมตร จะได้จำนวนจุดภาพทั้งหมด ๑,๗๒๘ จุดภาพ การลดปริมาณข้อมูลดังกล่าวทำได้โดยอาศัยการเข้ารหัส (Coding) ในส่วนที่เป็นสีขาวต่อเนื่อง หรือสีดำต่อเนื่อง การเข้ารหัสที่กำหนดตามมาตรฐานมีอยู่ สอง ประเภท คือ การเข้ารหัสระนาบเดียว (One-Dimension Coding Scheme) และการเข้ารหัสสองระนาบ (Two- Dimension Coding Scheme) การเข้ารหัสจะอ้างอิงตามตารางรหัสจบ (Terminating Codes) และรหัสสร้าง ( Make up Codes) ที่กำหนดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศตามมาตรฐานแนะนำชุดที T (ITU CCITT Recommendation T Series) [2]   การเข้ารหัสระนาบเดียว (One-dimension Coding Scheme) เป็นการอาศัยจุดภาพจากการสแกนที่เป็นจุดสีขาวต่อเนื่อง หรือ สีดำต่อเนื่องมาเข้ารหัสตามตารางรหัสจบและรหัสสร้าง การเข้ารหัสระนาบเดียว มีชื่อเรียกอีกแบบ คือฮัฟฟ์แมนดัดแปลง ( Modified Huffman: MH)   การเข้ารหัสสองระนาบ (Two-Dimensional Coding Scheme) ใช้ลักษณะบางส่วนของการเข้ารหัสระนาบเดียว ควบคู่กับการใช้ความสัมพันธ์ทางแนวดิ่งกับข้อมูลที่มีอยู่ โดยที่การสแกนครั้งแรกจะเป็นการเข้ารหัสระนาบเดียว เพื่อใช้เป็นเส้นอ้างอิงของการเข้ารหัสสองระนาบ หลังจากนั้นก็จะใช้การสแกนของการเข้ารหัสสองระนาบเป็นเส้นอ้างอิงในการเข้า รหัสครั้งต่อไป การเข้ารหัสสองระนาบ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการอ่านแบบดัดแปลง ( Modified Reading: MR)

กลุ่ม ที่สี่ (Group 4: G4)

       มาตรฐาน ของเครื่องโทรสารแบบกลุ่มที่สี่ เป็นการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล โดยต้องเชื่อมต่อกับโครงข่ายข้อมูลสาธารณะ ( Public data network: PDN) ได้แก่ โครงข่ายข้อมูลสาธารณะแบบสลับวงจร (Circuit – Switched Public data Network: CSPDN) โครงข่ายข้อมูลสาธารณะแบบสลับกลุ่มข้อมูล (Packet – Switched Public Data Network: PSPDN) โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล ( Integrated Services Digital Network: ISDN) และโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ ( Public Switched Telephone network: PSTN) โดยเครือข่ายทั้งสี่ชนิดนี้ จะต้องมีการให้สัญญาณเรียกตอบแบบต่างๆคือ ตอบรับอัตโนมัติ ( Automatic Answering) ตอบรับการส่ง ( Transmission reception) และ ปล่อยหรือยกเลิก ( Clearing) เครื่องโทรสารกลุ่มที่สี่ แบ่งระดับได้เป็น สามชั้น คือ

ชั้น แรก ความต้องการขั้นต่ำสุดของเครื่องโทรสารชั้นนี้ คือ สามารถรับข้อมูลที่มีการเข้ารหัสแบบฮัฟฟ์แมนดัดแปลง หรือการอ่านแบบดัดแปลง

ชั้น ที่สอง ความต้องการขั้นต่ำสุดของเครื่องโทรสารชั้น นี้คือ สามารถส่งข้อมูลของรหัสแฟกซ์และสามารถรับข้อมูลของรหัสแฟกซ์หรือรหัสเทเล เทกซ์ (Teletex Code) หรือรับได้ทั้งสองข้อมูล (Mixed – Mode) ในแผ่นเดียวกัน

ชั้น ที่สาม ความต้องการขั้นต่ำสุดของเครื่องโทรสารชั้น นี้ คือ สามารถสร้าง ส่ง และรับข้อมูลของรหัสแฟกซ์ รหัสเทเลเทกซ์ และรับได้ทั้งสองข้อมูลในแผ่นเดียวกัน  เครื่องโทรสารกลุ่มที่สี่ ต่อเชื่อมใช้งานกับโครงข่ายดิจิทัล (Digital Network) ด้วยอัตราข้อมูล ๖๔ กิโลบิทต่อวินาที การเข้ารหัสคล้ายกับกลุ่มที่สาม คือ ใช้การเข้ารหัสแบบสองระนาบ

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 65,325 Today: 11 PageView/Month: 26

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...